http://www.dek-mor-vacation.blogspot.com/บทความก่อนหน้าเราได้ไปทัศนศึกษาเมืองฮานอย-ฮาลองเบย์ของเวียดนาม กันแล้ว แต่หากเราไม่เรียนรู้ภาษาของชาวเวียดนามกันบ้างเลย ก็กระไรอยู่ แม้ว่าเราจะมีไกด์ไปด้วย หรือจะไม่มีไกด์ก็ตามทีภาษาเวียดนามก็จะช่วยให้เราสามารถสื่อสารกับช่าวเวียดนามได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นการทักทายกัน การต่อรองราคาสินค้า การสอบถามข้อมูลเบื้องต้น เอาล่ะเรามาเรียนรู้ภาษาเวียดนามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
คำทักทาย ภาษาเวียดนาม • กาม เอิน (Cam On) : ขอบคุณ
• ซิน จ่าว (Xin Chao) : สวัสดี (ใช้ได้ทุกเวลา)
• ซิน โหลย (Xin Loi) : ขอโทษ
• จุ๊บ หงู งอน (Chuc Ngu Ngon) : ราตรีสวัสดิ์
• ซิน เหม่ย (Xin Moi) : ขอเชิญ,กรุณา
• ตาม เบียด (Tam Biet) : ลาก่อน
• แฮน กัพ ไล (Hen Gap Lai) : พบกันใหม่
• บั๊ก โก แคว คง (Bac Co Khoc Khong) : สบายดีหรือ
• กาม เอิน บิงห์ เทือง (Cam On Binh Thuong) : สบายดี ขอบคุณ
• แดบ หลำ (Dab Lam) : สวยมาก
• ยา (Da) : ใช่
• คง (Khong) : ไม่
• โตย (Toi) : ฉัน
• ซิงหลำ (Xinh Lam) : มีเสน่ห์มาก
คำสนทนาภาษาเวียดนาม
• เอ๋อ เดา (O Dau) : ที่ไหน(จะอยู่หลังคำนามเสมอ)
• เงิน ห่าง (Ngan Hang) : ธนาคาร
• เงิน ห่าง เอ๋อ เดา (Ngan Hang O Dau) : ธนาคารอยู่ไหน
• บู เดียน (Buu Dien) : ไปรษณีย์
• ค้าก ซาน (Khach San) : โรงแรม
• เบิงห์ เวียน (Benh Vien) : โรงพยาบาล
• เหี่ยว ซ้าค (Hieu Sach) : ร้านหนังสือ
• เบ่ เบย (Be Boi) : สระว่ายน้ำ
• ยา ฮาง อัน (Nha Hang An) : ภัตตาคาร
• ยา เธอ (Nha Tho) : โบสถ์
• เซิน ไบ (San Bay) : สนามบิน
• เบ๋น แซ ตัค ซี่ (Ben Xe Tac Xi) : สถานีรถแท็กซี่
• เบ๋น แซ (Ben Xe) : สถานีรถประจำทาง
• กา แซ เหลื่อ (Ga Xe Lua) : สถานีรถไฟ
• ยา เว ซิง เอ๋อ เดา (Nha Ve Sinh O Dau) : ห้องน้ำอยู่ไหน
• เร ไตร (Re Trai) : เลี้ยวซ้าย
• ไฝ่ (Phai) : ขวา
• ไฮ ดี ถั่ง (Hay Di Thang) : ตรงไป
• โหลย ไหน่ (Loi Nay) : ทางนี้
• โฝ,เดื่อง (Pho,Doung) : ถนน
• กวาน (Quan) : ตำบล
• การนับวันภาษาเวียดนาม
• จู่ ยัต (Chu Nhat) : อาทิตย์
• ถือ ไห่ (Thu Hai) : จันทร์
• ถือ บา (Thu Ba) : อังคาร
• ถือ ตือ (Thu Tu) : พุธ
• ถือ นาม (Thu Nam) : พฤหัสบดี
• ถือ เสา (Thu Sau) : ศุกร์
• ถือ ไบ่ (Thu Bay) : เสาร์
คำทั่วไปในภาษาเวียดนาม
• ดอย หลำ (Doi Lam) : หิวมาก
• ค้าด หลำ (Khat Lam) : กระหายน้ำ
• งอน หลำ (Ngon Lam) : อร่อยมาก
• เนื๊อก โซย (Nuoc Da) : น้ำเปล่า (ต้ม)
• เนื๊อก ดา (Nuoc Da) : น้ำแข็ง
• เนื๊อก กำ ดา (Nuoc Cam Da) : น้ำแข็งเปล่า
• ฉ่า ด๋า (Tra Da) : น้ำแข็งใส่น้ำชา
• เฝอ (Pho) : ก๋วยเตี๋ยว
• กา เฝ่ (Ca Phe) : กาแฟ
• แจ่ (Che) : ชา
• เบีย (Bia) : เบียร์
• เกิม (Com) : ข้าวสวย
• จ๋าว (Chao) : ข้าวต้ม
• แบ๋งห์ หมี่ (Banh My) : ขนมปัง
• โตย โอม (Toi Om) : ฉันไม่สบาย
• โตย บี ดี หง่วย (Toi Bi Di Ngoai) : ฉันท้องเสีย
• บี โซด (Bi Sot) : เป็นไข้
• บี ยา ไย (Bi Da Day) : ปวดท้อง
• แตม ทือ (Tem Thu) : แสตมป์
• แซ เฮย (Xe Hoi) : รถ
• ทิด บา (Thit Bo) : เนื้อวัว
• หมง (Muong) : ช้อน
• เหนี้ย (Nia) : ส้อม
• เล่ (Ly) : แก้วน้ำ
• ตำ เสีย รัง (Tam Xia Rang) : ไม้จิ้มฟัน
• เอิ้ก (Ot) : พริก
• เนื้อก ม้าม (Nuoc Mam) : น้ำปลา
• เย่ เล่า หมิง (Giac Lau Mieng) : กระดาษทิชชู่
• ช้อปปิ้งภาษาเวียดนาม
• บาว เยียว (Bao Nhieu) : ราคาเท่าไหร่
• มัก กว๊า (Mac Qua) : แพง
• เบิ่ก เยียะ คอม (Bot Gia Khong) : ลดราคาได้ไหม
• เหล๋ (Re) : ถูก
การนับจำนวนภาษาเวียดนาม
• โมต (Mot) : 1
• ไฮ (Hai) : 2
• บา (Ba) : 3
• โบน (Bon) : 4
• นาม (Nam) : 5
• เสา (Sau) : 6
• ไบ่(Bay) : 7
• ตาม (Tam) : 8
• จิ๋น (Chin) : 9
• เหมื่อย (Muoi) : 10
• เหมื่อย โมต (Muoi Mot) : 11
• เหมื่อย ลาม (Muoi Lam) : 15
• ไฮ เหมื่อย (Hai Muoi) : 20
• ไฮ เหมื่อย ลาม (Hai Muoi Lam) : 25
• บา เหมื่อย (Ba Muoi) : 30
• นาม เหมื่อย (Nam Muoi) : 50
• โมต ตรัม (Mot Tram) : 100
• ไห่ ตรัม (Hai Tram) : 200
• โมต งัน (Mot Nghin) : 1,000
• เหมื่อย งัน (Muoi Nghin) : 10,000
• ตรัม งัน (Tram Nghin) : 100,000
• โมต เตรียว (Mot Trieu) : 1,000,000
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินเวียดนาม (ดอง) ต้องขอขอบคุณ http://www.gss.co.th/vnd/VND-THB.xls
เป็นอย่างมาก ที่แสดงตารางเปรียบเทียบเงินไทย เงินดอลล่าร์ และเงินดอง(เงินเวียดนาม) อย่างชัดเจน
ที่เวียดนามใช้ได้ทั้งเงินบาท เงินดอลลาร์ เงินดอง แต่การซื้อของแต่ละครั้งต้องดูให้ดีๆ ว่าใช้เงินประเทศไหนคุ้มค่ากว่ากัน เช่นชื่อของตามร้านใหญ่ๆ ใช้เงินดอลล่าร์ ดีกว่าเงินดอง หรือเงินบาท
หมายเหตุ
ขอแจ้งไว้นิดหนึ่งว่า ในประเทศเวียดนามรับทั้งเงินไทย เงินดอลล่าร์ และเงินดอง หากซื้อของในตลาด เช่นซื้อของที่ 3 อย่าง 100 บาท ใช้เงินบาทจะดีกว่าเงินดอง เพราะถ้าเป็นเงินดองจะต้องจ่าย 45000 ดองหรือ103 บาท แต่ที่สำคัญไม่จำเป็นต้องแลกเงินดองไปเยอะหรอกค่ะ เพราะขาดทุนทั้งตอนแลกซื้อและแลกคืน ใช้เงินบาทกับเงินดอลล่าร์ก็พอค่ะ
ขอแจ้งไว้นิดหนึ่งว่า ในประเทศเวียดนามรับทั้งเงินไทย เงินดอลล่าร์ และเงินดอง หากซื้อของในตลาด เช่นซื้อของที่ 3 อย่าง 100 บาท ใช้เงินบาทจะดีกว่าเงินดอง เพราะถ้าเป็นเงินดองจะต้องจ่าย 45000 ดองหรือ103 บาท แต่ที่สำคัญไม่จำเป็นต้องแลกเงินดองไปเยอะหรอกค่ะ เพราะขาดทุนทั้งตอนแลกซื้อและแลกคืน ใช้เงินบาทกับเงินดอลล่าร์ก็พอค่ะ
ทริปเวียดนามพอแค่นี้ก่อนนะคะ ต่อไปจะเป็นที่ไหน ประเทศอะไร หรือจังหวัดอะไรในเมืองไทย หรือสถานที่พักที่ไหนที่ราคาถูกแต่สะอาด ปลอดภัย ร้านอาหารที่ไหนอร่อย สะอาด จะมีบทความพิเศษสำหรับคนรักสุขภาพมาเป็นระยะๆ ติดตามกันต่อไปนะคะ จะพยายามอับเดรดบทความให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง (ทุกวันจันทร์ค่ะ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น